top of page
Top

รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สายงานสอน
ครั้งที่ 2 (1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564)

ข้อมูลทั่วไป1
ข้อมูลทั่วไป

ชื่อผู้รับการประเมิน นางสาวรุจิรัตน์  เอมเปีย

อายุ 42 ปี อายุราชการ 13 ปี

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)

ที่ตั้ง 37 ม.3 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160

สังกัด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก

        สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 119/122 หมู่บ้านอยู่สบายเฟส 2 ซ. 14

           ม.6 ต.หนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160

คุณวุฒิทางการศึกษา

  1. มัธยมศึกษาตอนปลาย

     วิชาเอก คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์  

     จากสถาบันการศึกษา โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์

  2. วุฒิปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)

     วิชาเอก วิทยาการคอมพิวเตอร์

     จากสถาบันการศึกษา สถาบันราชภัฎราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา

  3. วุฒิปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)

     วิชาเอก บริหารการศึกษา

     จากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

การรับราชการ

     เริ่มรับราชการในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2551

     ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ดังนี้​

  • 9 มกราคม  2551     ครูผู้ช่วย              วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน

  • 1 มกราคม   2553    ครู                     วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน

  • 17 มกราคม  2555   ครู                      วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)

  • 3 ธันวาคม   2557   ครูชำนาญการ          วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)

  • 15 มกราคม  2563   ครูชำนาญการพิเศษ   วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)

สอนระดับ ปวช.และ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ชั่วโมงการสอน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์

จำนวนวันลาในรอบการประเมิน​

     1. ลาป่วย  - วัน 

     2. ลากิจ - วัน

ตอนที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

ตอนที่ 1
ด้านที่ 1 การจัดการเรียนการสอน
  • การสร้าง/พัฒนาหลักสูตร

        หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในปัจจุบัน ได้แก่

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2557 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ต่อเนื่อง 5 ปี) ตามมาตรฐานโคเซ็น สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

       

  • การจัดการเรียนรู้และคุณภาพผู้เรียน

  • การปฏิบัติการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1/2564

     ทำการสอนทั้งสิ้น จำนวน 6 รายวิชา รวม 24 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.jpg
  • แผนการจัดการเรียนรู้

      จัดทำแผนการสอนมุ่งเน้นสมรรถนะและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 6 รายวิชา ดังนี้

a1.png
b1.png
c1.png
d1.png
e1.png
f1.png
  • การวิเคราะห์สมรรถนะการเรียนรู้

     จัดทำการวิเคราะห์สมรรถนะการเรียนรู้ จำนวน 6 รายวิชา ดังนี้

e2.png
b2.png
c2.png
d2.png
e2.png
f2.png
  • การออกแบบหน่วยการเรียนรู้

      ทำการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 6 รายวิชาดังนี้

a3.png
b3.png
c3.png
d3.png
e3.png
f3.png
  • คุณภาพผู้เรียน 

      ได้จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นความสำคัญทั้งกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ความรู้ คุณธรรม และการบูรณาการเรื่องต่าง ๆ

ให้เหมาะสมกับระดับการศึกษาดังนี้

  1. จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมตามความถนัดของนักเรียน นักศึกษา คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล

  2. การฝึกทักษะทางวิชาชีพ เน้นกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญและแก้ปัญหาด้วยการจัดกิจกรรมและสถานการณ์ในการเรียนรู้ให้นักเรียน นักศึกษาได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์

  3. จัดให้นักเรียน นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง ให้คิดเป็น คิดชอบ ทำได้ และทำเป็น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต

  4. ส่งเสริมกิจกรรมเป็นกลุ่ม มุ่งให้นักเรียน นักศึกษาเรียนรู้จากกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีความเข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคม เข้าร่วมกิจกรรมในสังคมตามบทบาทและหน้าที่ของตน

  5. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทุกรายวิชาที่ทำการสอน

  6. ปลูกฝังค่านิยมและมโนทัศน์ที่ถูกต้องให้แก่นักเรียน นักศึกษา เช่น การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ เป็นต้น

  7. ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย โดยให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย การไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งผู้แทน   ร่วมรณรงค์ให้ผู้เรียนได้รู้จักสิทธิ์และหน้าที่ของตนเอง  ใช้สิทธิ์ของตนเองได้อย่างถูกต้อง

  8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยสำคัญ เช่น ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความกตัญญู ความตรงต่อเวลา ความขยันหมั่นเพียร โดยให้นักเรียน นักศึกษาปฏิบัติกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันแม่ และวันพ่อ เป็นต้น

  9. ส่งเสริมการอนุรักษ์ วัฒนธรรม และประเพณีไทย ได้นำนักเรียน นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น กิจกรรมถวายเทียนจำนำพรรษาในวันเข้าพรรษา และร่วมกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ตามประเพณีไทย เช่น เข้าร่วมงานวันลอยกระทง ร่วมแห่เทียนและถวายเทียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรักและสืบสานวัฒนธรรมในท้องถิ่น

  10. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้จัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในงานอาชีพ รักงาน รักองค์กร สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดีและมีความภาคภูมิใจในตนเองต่อการเรียนวิชาชีพ เช่น กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างผู้เรียนในด้านการบริการสังคม   ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ทำประโยชน์เพื่อสังคม และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และมีจิตอาสา

  • กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้

      ใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน ด้วยกลยุทธ์จากแนวคิด ดังนี้

  • ปรัชญาการศึกษา : การศึกษา คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • จิตวิทยา : มนุษย์นิยม

  • รูปแบบการสอน : Active Learning

  • วิธีการสอน : สาธิต บรรยาย ฝึกปฏิบัติ

  • เทคนิคการสอน : เน้นการใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์และหลากหลายรูปแบบ

app.jpg
d1.jpg
d2.jpg
  • การสร้าง/การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้

จัดทำเอกสารประกอบการสอน สื่อการเรียนการสอน จำนวน  6 รายวิชาดังนี้

  • วิชา การเรียนรู้สารสนเทศ 1 รหัสวิชา 6001-2001

  • วิชา การประมวลผลแบบคลาวด์ 30204-2105

  • วิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ รหัสวิชา 30204-2003

  • วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์  รหัสวิชา 20291-2207

  • วิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 20291-2207

  • วิชา หลักการเขียนโปรแกรม รหัสวิชา 20204-2107

     เอกสาร และสื่อประกอบการเรียนการสอน

  • จัดการเรียนการสอนและควบคุมห้องเรียนด้วย Google Calssroom

3.jpg
  • การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

  • การวัดผลและประเมิน ภาคเรียนที่ 1/2564 จำนวน 6 รายวิชา  ดังนี้

commingsoon.png
  • การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

commingsoon.png
ด้านที่ 2  การบริหารจัดการในชั้นเรียน

2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

4.jpg
5.jpg
6.jpg
3.jpg
rms.jpg

2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

  • ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษา

     ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูที่ปรึกษา นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  • ครูที่ปรึกษา ชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพาณิชยกรรมและบริการฐานวิทยาศาสตร์

           นักเรียนในที่ปรึกษา จำนวน 11 คน 

  • ครูที่ปรึกษา ชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 (เรือนจำชาย) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 

           นักเรียนในที่ปรึกษา จำนวน 25 คน 

           - ควบคุมดูแล ส่งเสริม การจัดทำ จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลประวัติ ข้อมูลการเรียน และพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษา 

           - ให้คำปรึกษาแนะนำนักเรียนนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

           - ให้ความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดรายวิชาในการลงทะเบียนเรียน ให้ความเห็นชอบแก่นักเรียนนักศึกษาในการลงทะเบียนรายวิชา การขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม และขอถอนรายวิชา การขอพักการเรียน การโอนย้าย การลาออก การขอผ่อนผัน หรือยกเว้นการชำระเงินค่าลงทะเบียนรายวิชา ติดตาม แนะนำ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน การคำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลี่ยแก่นักเรียน นักศึกษา   

           - แก้ปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน ที่มีปัญหา

           - จัดทำข้อมูลสารนเทศ เกี่ยวกับนักเรียนในที่ปรึกษา โดยใช้ระบบ RMS

rose2.jpg
1.jpg
9.jpg
5.jpg
ด้านที่ 3
การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

การพัฒนาตนเอง/การพัฒนาวิชาชีพ

  • พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ โดยการเข้าร่วมอบรมออนไลน์ ตามโครงการต่างๆ ที่หน่วยงานด้านการศึกษาจัดขึ้น

ด้านที่ 4
งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
  • ปฏิบัติหน้าที่รองฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ

  1. บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

  2. วางแผนพัฒนาการศึกษาประเมิน และรายงานผลการจัดการศึกษา

  3. จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล

  4. ส่งเสริมและจัดการศึกษาฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ นอกระบบ และ ตาม

  5. จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา

  6. บริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินอื่น ๆ

  7. วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการ

  8. จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

  9. ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  10. ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน

  11. จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา

  12. จัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ

  14. กำกับดูแลหน่วยงานฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ จำนวน 6 งาน ดังต่อไปนี้

        (1) งานวางแผนและงบประมาณ

        (2) งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ

        (3) งานความร่วมมือ

        (4) งานวิจัย พัฒนา นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์

        (5) งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

        (6) งานส่งเสริมผลิตผล การค้า และประกอบธุรกิจ

  • คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา

มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการบริหารสถานศึกษา โดยพิจารณาให้ความเห็น เสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในการบริหารสถานศึกษา​

  • หัวหน้างานวางแผนและงบประมาณ

          1.  จัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนพัฒนาสถานศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ตามนโยบายและภารกิจของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
          2.  จัดทำข้อมูลแผนการรับนักเรียน นักศึกษา การยุบ ขยายและเพิ่มประเภทวิชาสาขาที่เปิดสอนในสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ตามความพร้อมและศักยภาพของสถานศึกษา
          3.  ตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดและดำเนินการเรื่องการปรับแผนการใช้ จ่ายเงินของสถานศึกษา
          4.  รวบรวมแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เป็นค่าวัสดุฝึกของแผนกวิชา สำรวจความต้องการวัสดุครุภัณฑ์ของแผนกวิชา และงานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง
          5.  วิเคราะห์รายจ่ายของสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ
          6.  จัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดในแผนงานและโครงการการใช้เงินงบ ประมาณ และเงินนอกงบประมาณเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
          7.  ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
          8.  จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
          9.  ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
         10.  ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย​

plan.jpg
ตอนที่ 2

ตอนที่ 2 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

1. มีความซื่อสัตย์สุจริต รักษาประโยชน์ส่วนรวม ไม่อาศัยหรือยินยอมให้ผู้อื่น ใช้อำนาจและหน้าที่ของตน เพื่อแสวงหาประโยชน์

          ข้าพเจ้าซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยอบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเต็มศักยภาพ รับผิดชอบงานในหน้าที่การสอน และงานหน้าที่พิเศษที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากงานราชการ ไม่เอาเวลาราชการไปหาประโยชน์ส่วนตัว รักษาผลประโยชน์ของทางวิทยาลัยฯ เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ หรือใช้กระดาษของทางราชการโดยประหยัด เป็นต้น พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

2. การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย นโยบาย และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

          ข้าพเจ้ารักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ศึกษากฎหมายการศึกษา พระราชบัญญัติทางการศึกษาและบทบาทหน้าที่ทางราชการของครูในหมวดที่ว่าด้วยวินัยทางราชการจนเข้าใจและได้ปฏิบัติตนตามกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการอย่างเคร่งครัด ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้สำเร็จลุล่วงอย่างดีที่สุด การรักษาระเบียบวินัยในการมาและกลับในการปฏิบัติราชการที่ตรงเวลา การปฏิบัติตามคาสั่งผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด มีส่วนร่วมเสริมสร้างวินัยแก่ผู้อื่น ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี และปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา มีคุณธรรม จริยธรรม ต่อเพื่อนร่วมงาน และนักเรียน โดยเข้าร่วมกิจกรรม และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากทางวิทยาลัยฯ

3. มีความวิริยะ อุตสาหะ ตรงต่อเวลา และอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการ

          ข้าพเจ้าตรงต่อเวลา อุทิศเวลาให้แก่ทางราชการ ไม่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันควรปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนประจำแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจอย่างเต็มเวลา เต็มความสามารถ โดยไม่เอาเวลาราชการไปหาผลประโยชน์หรือทำธุรกิจส่วนตัว หากได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ข้าพเจ้าจะรับผิดชอบและทำให้เสร็จ แม้งานนั้นต้องนำไปทำต่อที่บ้านหรืออยู่ปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ หรือได้รับคำสั่งให้ทำงานในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ข้าพเจ้าไม่เคยหลีกเลี่ยงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ในการสอนตามปกติแล้ว ข้าพเจ้ายังให้คำปรึกษา ช่วยเหลือแก่นักเรียนที่มีปัญหา ในเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียน

4. การมีจิตสำนึกที่ดี มุ่งบริการต่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ

          ข้าพเจ้าตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การสอนอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา เต็มหลักสูตร โดยมาปฏิบัติงานก่อนเวลาและกลับหลังเวลาเลิกทำงาน วางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบทำการวิเคราะห์ นักเรียนรายบุคคล เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากหลายสถานการณ์ หลากหลายวิธีการเรียนรู้ ตามความแตกต่างของนักเรียน ให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ ทักษะประสบการณ์ ทักษะการแก้ปัญหา ตามความสามารถ ให้กำลังใจและเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีงามให้แก่นักเรียน จัดกิจกรรมโฮมรูม และจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจัดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข ให้กำลังใจ ในการเรียนรู้ จัดสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้น่าเรียน รวมทั้งจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล เอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียน และผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน ให้ความรัก ความเมตตากรุณาต่อนักเรียน ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจแก่นักเรียนทุกคนด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในฐานะครูที่ปรึกษาข้าพเจ้าได้ให้คำปรึกษา พบปะพูดคุยกับผู้ปกครอง ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อช่วยเหลือสนับสนุน และส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนได้ตรงจุด ตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย ทำความรู้จักคุ้นเคยกับนักเรียนเป็นรายบุคคล เมื่อเกิดปัญหาจะแก้ไขทันที มีการวางตนเป็นกลาง ไม่ลำเอียง และมีความยุติธรรมให้แก่นักเรียนทุกคน มีการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ส่งเสริมนักเรียนที่มีพฤติกรรมดี และว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พร้อมอธิบายเหตุผล ให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองใหม่ ตั้งใจดูแลอบรมให้นักเรียนเป็นคนดี มีความประพฤติที่ดีงาม เพื่อให้นักเรียนอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

5. การรักษาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
   (รายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practices)

          ข้าพเจ้าประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ เพื่อนร่วมวิชาชีพ และผู้รับบริการ มีความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพ มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความรัก ความศรัทธาในวิชาชีพ มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพครูและปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ ตั้งใจถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับนักเรียนทุกคน ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมงานและนักเรียน โดยประพฤติ ปฏิบัติและวางตน ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา ใจ เช่น แต่งกายสะอาด เหมาะสมกับกาลเทศะ มีกิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อย มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีของศาสนา มีบุคลิกภาพเหมาะสมกับความเป็นครู มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส ดำรงตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติการสอนด้วยความตั้งใจ เอื้ออาทรต่อศิษย์อย่างเสมอภาค มีความซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีวินัยในตนเอง ตรงต่อเวลา ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีน้ำเสียงน่าฟัง ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งในห้องเรียน ในที่ประชุม และชุมชน ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียน ให้คำแนะนำ ตักเตือนนักเรียนที่พูดจาไม่สุภาพ ช่วยแก้ไขเมื่อนักเรียนใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องทั้งการเขียนและการพูด เพื่อสร้างนิสัยการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง พยายามหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะ ซึ่งสามารถเป็นตัวอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนจนได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าสอนและออกจากห้องสอนตรงเวลาตามที่วิทยาลัยฯ กำหนด เอาใจใส่ สนใจและดูแลสถานที่ทำงาน ห้องพักครู ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด เรียบร้อย

6. การรักษาภาพลักษณ์และความสามัคคีในองค์กร ชุมชน และสังคม

          ข้าพเจ้ามีความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน มีความเสียสละ เกื้อกูลกัน ประพฤติปฏิบัติงานนอย่างกัลยาณมิตรต่อเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ สุภาพเรียบร้อย ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมและให้ความช่วยเหลือกับผู้ร่วมงานในวิทยาลัยฯ ตลอดจนกิจกรรมสำคัญของหน่วยงาน องค์กรและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นการให้บริการติดตามช่วยเหลือ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม ให้การสงเคราะห์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ร่วมบริจาคเงิน ร่วมสมทบทำบุญโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ กฐิน ผ้าป่าสามัคคี บิดามารดา นักเรียนเสียชีวิต บิดา มารดาของบุคลากรในวิทยาลัยฯ ที่เสียชีวิต ข้าพเจ้าได้เสียสละเวลา และเสียสละเงินในการร่วมกิจกรรมของเพื่อนครู ช่วยเหลือเพื่อนครูในด้านการแก้ไขปัญหางานวิชาการ ให้คำแนะนำเพื่อนครูอย่างกัลยาณมิตร ได้ร่วมปรับปรุงพัฒนาผลงานของเพื่อนครูทั้งในและต่างสถานศึกษา ด้วยความเต็มใจ บริสุทธิ์ใจ จนทำให้งานประสบผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ
          ข้าพเจ้ารักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชู ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และสมศักดิ์ศรีของการเป็นครู ซึ่งอาชีพครูจะได้รับการยกย่อง หรือเชิดชูเกียรติ ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติตนของเรา ซึ่งคนที่ใกล้เรามากที่สุด คือนักเรียนเราปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนเห็นอย่างไร เขาก็จะไปพูดหรือเล่าให้ผู้ปกครองฟังเช่นนั้น การเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อปรึกษาพูดคุยกับผู้ปกครอง ในการช่วยเหลือและส่งเสริมนักเรียน ทำให้ผู้ปกครองยกย่อง และเชิดชูเกียรติได้เช่นเดียวกัน ที่เอาใจใส่และดูแลลูกหลานของเขาอย่างใกล้ชิด การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน กิจกรรมวันครู กิจกรรมวันไหว้ครูในวิทยาลัยฯ เพื่อให้นักเรียนไหว้และบูชาครู ซึ่งแสดงถึงความอ่อนน้อม กตัญญู รู้คุณ กิจกรรมยกย่อง เชิดชูเกียรติและผลจากการที่ข้าพเจ้าประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และสมศักดิ์ศรีของการเป็นครู  

          ข้าพเจ้ามีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ให้ความร่วมมือช่วยเหลือในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของครู ศักยภาพของนักเรียน งานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น อย่างเต็มใจ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ให้การช่วยเหลือผู้ร่วมงาน ตามความเหมาะสมที่เราจะสามารถช่วยได้ โดยไม่ต้องคอยให้เขาขอความช่วยเหลือ เห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน ร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับชุมชน กับเพื่อนร่วมงงาน อย่างเต็มใจทั้งด้านกำลังกาย และกำลังทรัพย์ ได้ช่วยเหลือทุนทรัพย์สิ่งของแก่เพื่อนครูตามโอกาส บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือนักเรียน ให้ความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่น ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในกิจกรรม งาน โครงการที่วิทยาลัยฯ จัดอย่างเต็มใจ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ช่วยเหลือผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยความเต็มใจ และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ร่วมกิจกรรมประเพณีในท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ อำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานราชการที่มาติดต่อ
 

bottom of page